 |
Title: This is Service
Design Thinking |
Author: Marc Stickdorn
and Jakob Schneider |
My Rating:
 |
|
|
|
Summary |
หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมแนวคิดในการออกแบบการบริการ
โดยรวบรวมแนวคิดจากผู้เชี่ยวชาญด้านบริการรวม 23 คน
ทำให้หนังสือเล่มนี้มีความหลากหลาย
แต่ข้อเสียก็คือเนื้อหาอาจขาดความภาพรวมที่เป็นเนื้อเดียวกัน
อย่างไรก็ดีหนังเล่มนี้ก็พยายามคุมเนื้อหาโดยกำหนดกรอบของการออกแบบบริการ
และให้ผู้เชี่ยวชาญได้นำเสนอแนวคิดในกรอบที่กำหนด
ข้อดีอีกประการหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ก็คือ
การที่ผู้เขียนได้จัดทำเว็บไซต์เพื่อ Support
การนำหนังสือเล่มนี้ไปใช้ เช่น การทำ Workshop
โดยให้เครื่องมือในรูปแบบของ Graphic และ Icon ต่าง ๆ
เพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสาร ที่สำคัญมีให้ทั้งในรูปแบบ Pdf และ
ai (แต่ก็ให้แค่บางส่วน ที่เหลือก็มีกั๊กไว้)
ใครสนใจก็เข้าไปได้ที่เว็บไซต์ชื่อเดียวกับหนังสือ
www.thisisservicedesignthinking.com |
|
ในช่วงแรกของหนังสือเป็นการให้แนวคิดเรื่องการออกแบบการบริการ
โดยระบุว่ามีหลักสำคัญอยู่ 5 ประการ ได้แก่
1. User-Centred หมายถึง
การออกแบบการบริการควรคำนึงถึงมุมมองจากลูกค้าเป็นสำคัญ
ไม่คิดเอง เออเอง
2. Co-Creative
หมายถึง การออกแบบการบริการควรนำผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
(Stakeholders) ทั้งหมดมาช่วยกันร่วมออกแบบ
3. Sequencing หมายถึง
การออกแบบการบริการ
ต้องสามารถนำมาสร้างให้เกิดเป็นภาพที่เห็นได้
ว่ากระบวนการให้บริการในแต่ละขั้นตอนเป็นอย่างไร
ร้อยเรียงกันอย่างไร
4. Evidence หมายถึง
การสร้างให้การบริการสามารถจับต้องได้
ซึ่งคุณสมบัติของการบริการคือไม่สามารถจับต้องได้
ดังนั้นผู้ออกแบบต้องทำให้บริการสามารถจับต้องได้
โดยการสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เพื่อสื่อสารการให้บริการ
5. Holistic หมายถึง
ถึงแม้การบริการจะประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ๆ มากมาย
แต่การให้บริการต้องก็ยังต้องถูกมองโดยภาพรวม
ส่วนที่สองของหนังสือได้ในแนวคิดว่า
ใครบ้างต้องมีส่วนร่วมในการออกแบบบริการ
ซึ่งผู้เขียนได้ให้กรอบว่า การออกแบบบริการมีความเกี่ยวข้องกับ
การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบงานศิลป์ (Graphic design)
การออกแบบการติดต่อลูกค้า (Interaction design)
การออกแบบด้านสังคม (Social design) การบริหารกลยุทธ์
การบริหารการปฏิบัติการ และการออกแแบบเชิงงานชาติพันธุ์วรรณา
(Design Ethnography)
ซึ่งหมายถึงการติดตามชีวิตความเป็นอยู่ของผู้บริการ
ผู้เขียนได้นำเสนอเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบการบริการ
ที่น่าสนใจ ได้แก่ The Double Diamond Model ได้แก่
เข้าใจลูกค้า การออกแบบแนวคิด การสร้างต้นแบบ และการนำไปใช้
|
|
 |
|
เครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งที่ถูกนำเสนอในหนังสือเล่มนี้ได้แก่
At-One ซึ่งเป็นตัวย่อดังนี้
A =
Actors หมายถึงต้องนำผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้บริการ
มาร่วมในการออกแบบ
T =
Touchpoints หมายถึง การออกแบบจุดที่ลูกค้าต้องสัมผัส
ในกระบวนการให้บริการ
O =
Offering หมายถึง การสรุปคุณค่าที่จะส่งมอบให้กับลูกค้า
N =
Needs หมายถึง
ต้องเข้าใจว่าการบริการนั้นจะสามารถตอบสนองความต้องการให้กับลูกค้าได้
อย่างไร
E =
Experience หมายถึง
การบริการจะสร้างประสบการณ์หรือความรู้สึกให้กับลูกค้าให้ประหลาดใจ
ได้อย่างไร |
|
|
My Opinion |
เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เขียนโดยผู้เขียนหลายคน
เนื้อหาจึงมีมากและมีรายละเอียดเยอะ
ผมเลยได้แค่เล่าให้ฟังคร่าว ๆ พอให้ได้ idea
ถึงแม้หนังสือเล่มนี้จะมี Theme ว่า Basics-Tools-Cases
ซึ่งมีความครอบคลุม ทั้นในด้านแนวคิด เครื่องมือ และตัวอย่าง
แต่โดยส่วนตัวผมมีความเห็นว่ามันยังมีความกระจัดกระจาย
ไม่สามารถหาข้อสรุปที่เป็นรูปธรรมได้ชัดเจนที่จะนำไปประยุกต์ใช้
แต่ก็มีจุดเด่นด้านรายละเอียดและความหลากหลาย
อ่านแล้วไม่ถึงกับประทับใจ ผมเลยให้แค่ 3 ดาวครับ |