|
Title: Think ASEAN |
Author: Philip Kotler,
Hermawan Kartajaya, Hooi Den Huan |
My Rating:
 |
|
|
|
Summary |
ปี 2015
ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic
Community หรือ AEC)
ระยะนี้จึงมีคนพูดถึงเรื่องนี้กันยกใหญ่
จำได้ว่าเคยอ่านหนังสือของ Kotler ที่ออกมาตั้งแต่ปี 2007
ที่เกี่ยวกับ ASEAN Community ก็เลยหยิบมาเล่าให้ฟ้ง |
|
|
ใน Part I
ของหนังสือเล่มนี้จะให้แนวคิดเกี่ยวกับมุมมองของ ASEAN
โดยแบ่งเป็น 4 บท ดังนี้
บทที่ 1 Digital Technology in ASEAN เป็นการให้มุมมองด้าน
ICT: Information and Communication Technology
โดยใช้ตัวชี้วัดที่เรียกว่า Infostate
ซึ่งหมายถึงการระบบโครงสร้างพื้นฐาน ทักษะ ความรู้ความเข้าใจ
และระดับการใช้งานทางด้าน ICT โดยเปรียบเทียบการเติบโตของ ICT
จากปี 1995 และปี 2003 ใน 10 ประเทศของอาเซีย
จากข้อมูลจะพบว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนมีการเติบโตของ ICT
สูงมาก นอกจากนั้นยังพบว่าประเทศที่มี Infostate สูงจะมี GDP
ที่สูงเช่นเดียวกัน ดังนั้น Infostate
จึงเป็นเสมือนตัวชี้วัดการเติบโตของประเทศต่าง ๆ
บทที่ 2 Impact of Globalization on ASEAN
ผู้เขียนให้แนวคิดว่า แท้จริงแล้วคำว่า Globalization หรือ
โลกาภิวัฒน์ ที่เราคิดว่ามันเป็นกระแสในปัจจุบัน
แต่ในเชิงธุรกิจแล้วมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากในการศึกษา
365 บริษัทข้ามชาติที่ใหญ๋ที่สุดในโลก มีเพียง 9
บริษัทเท่านั้นที่เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจแบบ Globalization จริง
ๆ นอกนั้นเป็นการพึ่งยอดขายในประเทศ หรือมีส่งออกบ้าง
การค้าขายส่วใหญ่จะเกิดขึ้นในกลุ่มของประเทศนั้น ๆ
นอกจากนั้นในมุมมองของผู้เขียนระบุว่า ASEAN
เองมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของโลกในฐานะเป็นตัวขั้นกลางระหว่างจีนกับอินเดีย
และระหว่างจีนกับญี่ปุ่น
บทที่ 3 The Future Market of ASEAN
ในบทนี้เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของ ASEAN ไปจนถึง
AEC
ที่น่าสนใจคือผู้เขียนได้ระบุถึงการเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจและการบริหารกลยุทธ์
เช่น มุมมองของ SWOT ที่เป็นการมองแบบ Inside out เป็น TOWS
ที่เป็นมุมมองแบบ Outside in และเปลี่ยนจากกลยุทธ์การตลาดแบบ
3Cs เป็น 4 Cs ได้แก่ Change, Customer, Competitor, และ
Company เป็นต้น
บทที่ 4 Compete for ASEAN Customers
บทนี้เป็นการนำเสนอมุมมองด้านการตลาด
โดยการมองตลาดอาจมีมุมมองหลายแบบ เช่น Glorecalization,
Globalization และ Regionlization โดยต้องคำนึงถึง 3Cs ได้แก่
Consistent Global Value คือการเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
Coordinated Regional Strategy (Segmentation, Targeting และ
Positioning) คือการกำหนดตำแหน่งด้านการตลาดให้มีความชัดเจน
และ Customized Local Tactic
ได้แก่การสร้างความแตกต่างโดยใช้มีความเหมาะสมกับตลาดเป้าหมาย
ใน Part II
เป็นการยกตัวอย่างบริษัทที่ประสบความสำเร็จในรูปแบบที่แตกต่างกัน
บทที่ 5 Watch out of the Local Champion
เป็นตัวอย่างของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในประเทศของตนเอง
(มีการยกตัวอย่างของโรงพยาบาลกรุงเทพ)
บทที่ 6 Learn from the Locals Goging ASEAn
เป็นการยกตัวอย่างของธุรกิจในประเทศอาเซียนที่มีการขยายตลาดไปสู่ประเทศในกลุ่มสมาชิก
บทที่ 7 Be inspired by Multinatinals Focusing on ASEAN
เป็นการยกตัวอย่างธุรกิจข้ามชาติที่ประสบความสำเร็จในตลาดอาเซียน
โดยทั้ง 3 บท
ผู้เขียนจะอธิบายถึงกลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างโดยใช้ Model
ที่เริ่มจาก Positioning
คือการกำหนดตำแหน่งในใจผู้บริโภคให้มีความชัดเจน
Differentiation คือการสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง
Brand ได้แก่การทำให้เกิดภาพลักษณ์ของตราสินค้า
ใน Part III เป็นการนำเสนอรูปแบบของการตลาดที่เหมาะกับ
ASEAN
บทที่ 8 ASEAN Vision, Local Action
เป็นการนำเสนอตัวอย่างของบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ในตลาด ASEAN
และทำตลาดอย่างเหมาะสมกับท้องถิ่น เช่น Air Asia
บทที่ 9 Global Value, ASEAN Strategy, Local Tactic
เป็นการนำเสนอตัวอย่างของบริษัทข้ามชาติที่มีการนำเสนอคุณค่าที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
แต่มุ่งมาที่ตลาด ASEAN และมีการปรับรูปแบบให้มีความเหมาะสมกับ
ASEAN เช่น Hewlett-Packard และ Yamaha
|
|
My Opinion |
หนังสือเล่มนี้นำเสนอในภาพกว้างมากกว่าเชิงลึก
ดังนั้นจึงไม่มีความชัดเจนว่าอะไรคือโอกาสและภัยคุกคามของการเกิดขึ้่นของ
ASEAN หรือ AEC ผู้เขียนพยายามนำเสนอ Model ด้านกลยุทธ์
แต่ก็ยังมีความกระจัดกระจาย ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
โดยส่วนตัวแล้วผมเป็นคนที่ชื่นชม Kotler มาก
แต่ช่วงหลัง ๆ หนังสือที่ออกมา เหมือนผู้ขียนร่วมจะเอา Kotler
เป็นจุดขาย ผมเลยไม่ค่อยประทับใจเท่าไหร่ครับ |
|
|