 |
Title: The
Strategy-Focused Organization |
Author: Robert S.
Kaplan and David P. Norton |
My Rating:
 |
|
|
|
Summary |
จากหนังสือ Balanced Scorecard ที่ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม
ก็เป็นธรรมดาที่ต้องมีเล่ม 2 ออกมา โดยส่วนใหญ่เล่ม 2
จะสู่เล่มแรกไม่ได้ เพราะมักจะเอาเรื่องเดิมมาขยายความ
และเพิ่มเติมอะไรอีกนิดหน่อย แต่สำหรับหนังสือ The
Strategy-Focused Organization เล่มนี้คือข้อยกเว้น
ผู้เขียนำเสนอได้อย่างยอดเยี่ยม โดยมีแง่มุมใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ |
|
จากหนังสือ Balanced
Scorecard ที่ใช้ตัวชี้วัด 4 มุมมอง
ในการถ่ายทอดกลยุทธ์ไปสู่การปฎิบัติ
ทำให้กลยุทธ์เป็นสิ่งที่จับต้องได้ วัดได้ และบริหารได้
ในหนังสือเล่มนี้เป็นการนำเสนอแง่มุมใหม่ของปัญหาคือ
เค้ายกบทความในหนังสือ Fourtune ในปี 1999 ที่ระบุว่า
การที่บริษัทไม่ประสบความสำเร็จตามกลยุทธ์ที่วางไว้ 70%
ไม่ได้เกิดจากกลยุทธ์ไม่ดี
แต่เกิดจากการนำกลยุทธ์ไปปฎิบัติมันแย่ (Bad Execution)
อันเนื่องจากหน่วยงานต่าง ๆ
และคนในองค์กรไม่ได้มีทิศทางการทำงานที่สอดประสานกับกลยุทธ์ขององค์กร
ผู้เขียนจึงให้ความสำคัญกับคำ 2 คำคือ Alignment และ Focus
คราวนี้บทบาทของ Balanced
Scorecard
จึงเกิดขึ้นในฐานะที่ทำให้หน่วยงานและคนในองค์กรมุ่งไปที่กลุยทธ์
เกิดเป็นองค์กรที่มุ่งกลยุทธ์ (Strategy-Focused Organizatio)
โดยมีขั้นตอนอยู่ 5
ขั้นตอนในการนำไปสู่การเป็นองค์กรที่มุ่งกลุยทธ์ ได้แก่
1. Mobized Change through Excutive
Leadership คือต้องนำกลยุทธ์มาสร้างให้เป็นระบบที่
สามารถบริหารจัดการได้ โดยมีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องโดยผู้นำ
2. Translate the Strategy to
Operation Terms
คือการแปลกลยุทธ์ไปอยู่ในรูปแบบที่คนทำงานสามารถเข้าใจได้
นั่นก็คือการทำแผนที่กลยุทธ์ ที่ใช้หลักการของ Balanced
Scorecard
3. Align the Organization to the
Strategy คือการให้หน่วยงานต่าง ๆ
ทำแผนและโครงการที่สอดรับกับแผนที่กลยุทธ์
4. Make Strategy Everyone's Everday
Job
คือการสร้างให้คนในองค์กรเกิดความตระหนักในกลยุทธ์ขององค์กร
โดยมีตัวชี้วัดส่วนบุคคลที่สอดรับกับแผนที่กลยุทธ์
รวมทั้งมีการเชื่อมโยงไปสู่ระบบประมินผลงาน
5. Make Strategy a Continual Process
คือสร้างกระบวนการให้เกิดการเรียนรู้ โดยอาศัยข้อมูล
และมีการเชื่อมโยงกลยุทธ์เข้ากับระบบงบประมาณของบริษัท
|
|
 |
|
การประยุกต์ใช้ Balanced Scorecard
ในหนังสือเล่มนี้จะมีแนวทางที่แตกต่างไปจากหนังสือเล่มแรก
โดยมีการคิดเป็นลำดับ ได้แก่ การเริ่มจากพันธกิจ ค่านิยม
วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์
จากนั้นเป็นการสร้างแผนที่กลยุทธ์โดยเริ่มจากเป้าหมายด้านการเงิน
(Financial Perspective) และระบุลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย (Customer
Perspective) และกระบวนการภายในที่สามารถตอบสนองลูกค้าเป้าหมาย
(Internal Process Perspective)
จากนั้นจึงกำหนดทรัยากรพื้นฐานที่สนับสนุนให้เกิดกระบวนการภายใน
เช่น คน เทคโนโลยี (Learning and Growth Perspective)
จะเห็นได้ว่าแนวทางในการนำ Balanced Scorecard
ไปใช้มีรูปแบบที่เป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้นเมื่อเทียบกับเล่มแรก |
 |
|
My Opinion |
อย่างที่ผมบอกตอนแรกว่าใครที่เขียนหนังสือเล่มแรกแล้วดัง
เล่มที่สองเขียนออกมามักไม่ค่อยได้เรือง (คือมักเป็นเรื่องเดิม
ๆ แล้วขยายความนิดหน่อย) แต่เล่มนี้คือข้อยกเว้น
โดยส่วนตัวหนังสือเล่มนี้ผมแนะนำให้อ่านอย่างยิ่ง และแน่นอนผมให้
5 ดาว |
|