 |
Title: Onward |
Author: Howard Schultz |
My Rating:
 |
|
|
|
Summary |
สตาร์บัคส์นับได้ว่าเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
และเป็นบริษัทหนึ่งที่ถูกยกตัวอย่าง
ในด้านความประสบความสำเร็จ แต่หลังจาก Howard Schultz
ได้ลงจากตำแหน่ง CEO แต่ยังคงเป็น
ประธานกรรมการบริหาร
สตาร์บัคส์ก็ได้มีการปรับปรุงการบริหารร้านเพื่อเพิ่มยอกขาย
และมีการขยายสาขา
เป็นจำนวนมาก แต่กลับประสบปัญหารายได้ต่อสาขาลดลง
ยอดขายรวมลดลง กำไรรวมลดลง และราคา
หุ้นที่ดิ่งเหวอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
เมื่อหลายปีก่อนนี้ผมเคยได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Comeback
เขียนโดย Martin Puris ซึ่ง
ได้พูดถึงการที่บริษัทใหญ่ ๆ เช่น Honeywell, Adidas, UPS,
Compaq, Continental, Chrysler
และ U.S. Surgical ได้ประสบปัญหาอย่างหนัก
แต่ก็สามารถผลิกสถานการณ์กลับมายืนหยัดได้อีกครั้ง
สิ่งหนึ่งที่บริษัททำเหมือน ๆ กันก็คือ
การเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูง ซึ่งเมื่อผมได้อ่านหนังสือ Onward
ก็พบว่าสตาร์บัคส์ก็ได้ใช้สูตรสำเร็จเดียวกัน คือเริ่มต้นโดย
ปลด CEO ออก และ Howard Schultz
กลับมาเป็น CEO อีกครั้งหนึ่ง และมีการปรับทีมบริหารใหม่
มีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารหลายคน
เหตุการณ์แบบนี้ทำให้ผมนึกถึงบริษัทของคนไทยหลาย ๆ
บริษัทที่ประสบปัญหา แต่ CEO หรือเจ้าของ
ก็ยังมั่นใจในตัวเอง สุดท้ายก็พังพาบทั้งบริษัท
เป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง หากใจกว้างสักหน่อย
หามือดี ๆ มาช่วย ก็น่าจะผ่านวิกฤตไปได้ |
นอกเรื่องไปหน่อย กลับมาที่หนังสือเล่มนี้ล่ะกัน หลังจากที่ Howard
Schultz ได้กลับมาเป็น CEO
ของสตาร์บัคส์อีกครั้ง ก็ได้ทำการปรับปรุงหลาย ๆ อย่าง
เช่นการปรับทีมบริหาร การปรับปรุงร้าน
การปิดสาขา การลดต้นทุน การพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ การปลดพนักงาน
การนำเทคโนโลยีมาใช้
การใช้สื่อ Social Media การพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงบริษัท
(Transformation) โดยมีการกำหนด
วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Vision)
โดยกำหนดการเปลี่ยนแปลง 7 ประการ (Seven Big Moves)
และอื่น ๆ อีกมากมาย |
ท้ายที่สุดสตาร์บัคส์ก็สามารถกลับมามีผลประกอบการที่ดีอีกครั้ง
ซึ่งหากนับตั้งแต่ Howard Schultz
ได้กลับมาเป็น CEO ใหม่ ในวันที่ 7 มกราคม 2008
กว่าผลประกอบการจะเริ่มกลับมาดีได้ก็ต้องรอถึง
ไตรมาสที่สามของปี 2009 ซึ่งรวมแล้วเป็นเวลาเกือบ 2 ปี
และเริ่มดีขึ้นอย่างชัดเจนก็ต้องรอถึงปี 2010
ผมพอจะสรุปได้อย่างนี้ครับว่า Howard
Schultz ไม่ได้มีกลยุทธ์อะไรเลย แต่ค่อย ๆ ทำทุกอย่างที่เห็น
ว่าดีไปเรื่อย ๆ อะไรไม่ดีก็กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่เคยท้อใจ
โดยมีความยึดมั่นใจอุดมการณ์หลักของ
สตาร์บัคส์
ซึ่งการที่จะทำให้บริษัทเติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้นไม่ได้เกิดจากกลยุทธ์
แต่เป็นการกระทำหรือ
วิธีการที่อยู่ในระดับที่เรียกว่า Tactic
(ไม่รู้จะแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร) พูดง่าย ๆ คือ การปรับปรุง
พัฒนาวิธีการในระดับเล็ก ๆ ไปเรื่อย ๆ
ดังที่ในหนังสือเล่มนี้เขียนไว้ว่า Growth, we now know all
too
well, is not a strategy, It is a tactic. |
|
|
My Opinion |
หนังสือเล่มนี้ได้แบ่งการนำเสนอเป็น 5 ตอน
ได้แก่ Love, Confidence, Pain, Hope
และ Courage โดยได้ไล่เรียงตั้งแต่การเกิดปัญหา
การแก้ไข การประสบความสำเร็จ
จนไปถึงการสร้างเติบโตอย่างยั่งยืน
อย่างที่ผมบอกไว้ด้านบนว่า
Howard Schultz
ได้พยายามทำทุกอย่างที่เห็นว่าดี
แต่ไม่ได้มีกรอบที่ชัดเจนในเชิงกลยุทธ์ ถึงแม้ว่าจะ
มี Seven Big Moves ก็ตาม
แต่ในการแก้ไขปัญหาจริงนั้นก็ยังคงเป็นการลงรายละเอียดของงานเป็นชิ้น
ๆ อยู่ดี ไปพูดคุยกับใคร ได้ไอเดียอะไรใหม่ ๆ
ก็นำมาปรับ
ใช้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า Howard Schultz
เป็นคนเปิดใจรับฟังผู้อื่น ไม่ได้มีความหยิ่ง
ผยองว่าตนเองนั้นเก่งกว่าใคร ๆ
ซึ่งผู้บริหารของไทยควรนำมาเป็นแบบอย่าง
สุดท้ายผมเห็นว่าหนังสือเล่มนี้มีการนำเสนอที่เป็นเรื่องเล่า
มากกว่าจะให้กรอบ
แนวคิดที่ชัดเจน ซึ่งคล้ายกับหนังสือเล่มแรกที่ชื่อ
Pour Your
Heart Into It แต่หนังสือ
เล่มแรกอ่านแล้วประทับใจมาก ๆ
แต่สำหรับเล่มนี้อ่านแล้วรู้สึกเฉย ๆ ก็เลยให้ไป
แค่ 3 ดาว ครับ |
|
|
|