 |
Title: On Dialogue |
Author: David
Bohm |
My Rating:
 |
|
|
|
ความเป็นมา |
 |
หนังสือ The fifth
discipline ของ Peter Senge นับเป็นหนังสือที่เป็น Key book
เล่มหนึ่ง หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยหนังสือ 2 เล่ม
เล่มหน้าปกสีดำเป็นแนวคิด ส่วนหน้าปกสีแดงเป็นแนวปฏิบัติ
ในหนังสือเล่มนี้ให้แนวทางการทำ Team Learning
เพื่อให้ทีมสามารถเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้การสนทนาที่เรียกว่า
productive conversation โดยระบุว่ารูปแบบการสนทนามี 2 แบบ คือ
Skillful discussion และ Dialogue
โดย SKillful discussion หรือ productive discussion
ถูกนำเสนอโดย Rick Ross (เป็นที่ปรึกษธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ)
ส่วน Dialogue ถูกนำเสนอในหนังสือ
On Dialogue
ของ David Bohm |
เมื่อผมสืบค้นพบว่า
David Bohm เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษา Quantum Theory
โด่งดังในยุคเดียวกับ Albert Einstein
ผมจึงเกิดความสนใจหนังสือ On dialogue มากเป็นพิเศษ
เนื่องจากเขียนโดยนักฟิสิกส์ ซึ่งทำให้ผมประหลาดใจมาก
และได้ไปหาหนังสือเล่มนี้มาครอบครอง
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นผมอ่านได้ไม่เกิน 1 หน้า ก็ต้องยอมแพ้
เพราะอ่านแล้วไม่เข้าใจเลย พยายามอยู่หลายรอบจนท้อ
และเลิกอ่านไปในที่สุด |
|
 |
จนในวันหนึ่งผมบังเอิญไปพบหนังสือแแปล ซึ่งแปลโดย คุณเพชรรัตน์
พงษ์เจริญสุข ซึ่งผมเองก็ไม่รู้จัก
แต่มาสะดุดตรงบรรณาธิการที่เป็นคุณพจนา
จันทรสันติ ซึ่งท่านนี้ผมได้ติดตามผลงานการแปลหนังสือของท่านกฤษณมูรติมาโดยตลอด
ทำให้ผมรู้สึกได้ว่าหนังสือ
On Dialogue
ของ David Bohm เล่มนี้คงไม่ใช้หนังสือธรรมดาที่ใครจะอ่านก็ได้ |
|
เมื่อได้ศึกษาเพิ่มเติมถึงได้รู้ว่า David Bohm
ได้รับอิทธิพลแนวคิดเรื่อง “สุนทรียสนทนา” (Dialogue)
มาจากท่านกฤษณมูรติและองค์ทะไลลามะ
ก็เลยไปค้นต่อด้านความสัมพันธ์ระหว่าง David Bohm
กับท่านกฤษณมูรติ
โดยทั้งสองคนมีการสนทนาแลกเปลี่ยนวิธีคิดกันโดยตลอด |
 |
(ในภาพ :
คนซ้ายมือคือกฤษณมูรติ คนขวามือคือ David Bohm) |
|
 |
ผมชอบแนวคิดของท่านกฤษณมูรติตั้งแต่สมัยเป็นวัยรุ่น
อ่านหนังสือของท่านมามากกว่า 20 เล่ม หนังสือของท่านกฤษณมูรติ
ล้วนแต่เป็นหนังสือเชิงปรัชญา
ถ้าใครชอบแนวนี้ก็จะชอบแบบคลั่งไคล้
ใครไม่ชอบก็จะอ่านไม่รู้เรื่องเลย
การอ่านจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจได้
และนี่คือเหตุผลที่ผมไม่สามารถอ่านหนังสือ On dialogue
ฉบับภาษาอังกฤษได้สำเร็จ |
|
ที่เล่ามาทั้งหมดก็เพื่อจะบอกว่า
การสรุปหนังสือเล่มนี้ผมใช้วิธีอ่านควบคู่หนังสือฉบับภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
ซึ่งพอทำให้พอเข้าใจเนื้อหาได้บ้าง เน้นนะครับว่าเข้าใจได้บ้าง |
|
Summary |
ผมขอสรุปสั้น ๆ
ตามหัวข้อดังนี้ครับ |
บทที่ 1.
ว่าด้วยการสื่อสาร: สรุปใจความสำคัญได้ว่า เทคโนโลยียุคใหม่
ล้วนช่วยกันถักทอเครือข่ายของการสื่อสารที่ทำให้ทุกส่วนของโลก
สามารถเชื่อมต่อกันได้ในทันทีทันใด
แต่ในด้านการสื่อสารกลับมีความรู้สึกว่า
การสื่อสารได้พังทลายลงในทุกหนแห่งอย่างที่เราไม่เคยพบมาก่อน
เรามีปัญหด้านการสื่อสารอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เช่น
“วัยที่แตกต่างกัน” “ครอบครัว” “ครู-นักเรียน”
ทั้งนี้เนื่องจาก
คนจะได้ยินสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งพูดผ่านตัวกรองทางความคิดของตน |
|
บทที่ 2
ว่าด้วยสุนทรียสนทนา (Dialogue) บทนี้อธิบายความหมายของ
Diaglogue โดยระบุว่า Dialogue มาจากภาษากรีกคือคำว่า
“Dialogos” Logos = ถ้อยคำ หรือความหมายของถ้อยคำ, Dia = ผ่าน
Dialogue คือการให้ความหมายของถ้อยคำ ไหลผ่านอยู่ท่ามกลางกลุ่ม
(หรือไหลผ่านในตัวเราเอง) ซึ่งแตกต่างจากคำว่า Discussion
ที่เหมือนกับการเล่นปิงปอง
คือการเอาความหมายหรือความคิดมาตีกลับไปกลับมา
โดยมีเป้าหมายเพื่อเอาชนะ (อาจพยายามหาความคิดหรือสิ่งสนับสนุน
เพื่อให้ได้ชัยชนะ)
Dialogue ทุกคนชนะ ถ้าใครคนใดคนหนึ่งชนะ “Everybody wins if
anybody wins” ข้อเท็จจริงคือ ทุกคนมีสมมติฐาน (Assumptions)
หรือความเห็น (Opinions) ที่แตกต่างกัน
เรามักปกป้องสมมติฐานหรือความเห็นของเรา
“ความคิดนี่แหละคือตัวปัญหา”
Dialogue
จะต้องเข้าไปอยู่ในกระบวนการทางความคิดซึ่งอยู่เบื้องหลังสมมติฐานเหล่านั้น |
|
บทที่ 3.
ธรรมชาติของความคิดร่วม บทนี้อธิบายความแตกต่างระหว่างคำว่า
การคิด (Thinking) และความคิด (Thought)
โดยระบุว่าการคิดมีลักษณะเป็นปัจจุบัน แต่ความคิดเป็นอดีต
เมื่อเราคิดเสร็จแล้ว มันไม่ได้หายไปไหน
แต่จะถูกเก็บในรูปแบบของความคิด
สมองส่วนที่คิดและส่วนอารมณ์ความรู้สึกอยู่ในบริเวณเดียวกัน
มันจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
ความคิดจึงทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก
และความรู้สึกก็สามารถไปรบกวนการคิดอย่างมีเหตุผล
การคิดแบบมีเหตุผลจึงเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อสมองสงบนิ่งเท่านั้น
ความคิดสามารถสร้างมโนทัศน์ (Representation)
เมื่อมีคนบอกว่าคนไม่ดีเป็นอย่างไร เราก็จะเกิดมโนทัศน์
และเมื่อเราพูดเกี่ยวกับคนไม่ดี
เราจึงเป็นการนำเสนอสิ่งที่ถูกสร้างไว้แล้ว (Re-Present)
ยิ่งเป็นความคิดร่วม ความคิดนั้นยิ่งมีพลังมากขึ้น |
|
หนังสือเล่มนี้มี 7 บท
แต่เนื้อหา 3 บท มีจำนวนหน้าประมาณ 3 ใน 4 ของหนังสือ
ดังนั้นบทที่ 4-7 จึงมีเนื้อหาค่อนข้างน้อย |
|
บทที่ 4
ปัญหาและปฏิทรรศน์
ในบทนี้เนื้อหาระว่าปัญหาบางประเภทก็ยากเกินกว่าสติปัญญาทั่วไปจะสามารถแก้ไขได้
สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคือปฏิทรรศน์ (paradox)
คือความขัดกันในตนเอง เช่น
ทุกคนรู้ว่าเราการสื่อสารอย่างอิสระจะเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
ในขณะเดียวกันเราก็ไม่อยากรับฟังสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย |
|
บทที่ 5
ผู้สังเกตและสิ่งที่ถูกสังเกต ในบทนี้มีแค่ 4 หน้า สรุปได้ว่า
สมมติฐานของเราทำหน้าที่ดุจเป็นผู้สังเกต เราจึงมองสิ่งต่าง ๆ
และสรุปผ่านสมมติฐานที่เรามีอยู่ กฤษณมูรติกล่าวว่า
"ผู้สังเกตคือสิ่งที่ถูกสังเกต" (.... งงมั้ยล่ะ) |
|
บทที่ 6 การระงับยับยั้ง
ร่างกาย และการตระหนักรู้ในตนเอง เนื้อหาต่อเนื่องจากบทที่ 5
คือ ถ้าเราอยากเป็นอิสระอย่างแท้จริง
เราสามารถยับยั้งความคิดและการกระทำ
โดยไม่จำเป็นต้องเก็บกดมันไว้
โดยเราต้องมีความตระหนักรู้ในตนเองในทุกขณะ |
|
บทที่ 7
ความคิดแบบมีส่วนร่วมและความไร้ขอบเขต ในบทนี้ผู้เขียนระบุว่า
ความคิดแบบมีส่วนร่วมเกิดขึ้นมาในวัฒนธรรมยุคเริ่มและของมนุษย์
สิ่งเหล่านี้ทำให้คนเรา เกิดมีความมมีส่วนร่วม เช่น
นี่ประเทศของฉัน นี่คือสังคมของฉัน และการพัฒนาให้เรามีอิสระ
เราต้องมีภาวะที่ว่างเปล่าอันไร้ขอบเขต |
|
My Opinion |
ถ้าให้คะแนนหนังสือของท่านกฤษณมูรติ ผมสามารถให้ 5 ดาว
ทุกเล่ม ทั้งเล่มที่ผมอ่านแล้วและเล่มที่ผมยังไม่เคยอ่าน
อาจกล่าวได้ว่าผมมีความลำเอียงเป็นพิเศษ
แต่หากใครลองอ่านหนังสือของท่านกฤษณมูรติ แล้วรู้สึกถูกจริต
ผมว่าก็คงให้ 5 ดาว ทุกเล่มเหมือนผม
แต่ใครอ่านแล้วไม่ชอบก็คงให้แค่ 1 ดาว
แต่สำหรับหนังสือ On dialogue ของ David Bohm
เป็นหนังสือที่ถ่ายทอดเนื้อหาแนวเดียวกับท่านกฤษณมูรติ
แต่ในความเห็นของผมสิ่งที่นำเสนอ
ยังห่างไกลจากท่านกฤษณมูรติเป็นอย่างมาก
ดังนั้นเล่มนี้ผมให้เพียง 1 ดาวครับ |
|