 |
Title: The Living
Company |
Author: Arie de Geus |
My Rating:
 |
|
|
|
Summary |
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาแนวเดียวกับหนังสือ Built to last ของ
James C. Collins และ Jerry I. Porras โดยพยายามศึกษาหาปัจจัย
พฤติกรรม หรือลักษณะของบริษัทที่อยู่ได้อย่างยั่งยืน |
หนังสือเล่มนี้เกิดจาก
Arie de Geus ที่เป็นผู้บริหารของบริษัท Royal Dutch/Shell
โดยมีคำถามว่า บริษัทขนาดใหญ่ใดบ้างที่มีอายุมากกว่า Shell
โดยมีความสำคัญในอุตสาหกรรมนั้น เบื้องต้นหามาได้ 40
บริษัทและทำการศึกษาในรายละเอียด 27 บริษัท
ว่าบริษัทเหล่านั้นมีอะไรที่เหมือนกันบ้างที่สามารถอธิบายได้ว่า
ทำไมถึงประสบความสำเร็จจนมาถึงทุกวันนี้
โดยได้พบปัจจัยที่เหมือนกัน 4 ประการคือ
1. Sensitivity to the environment ก็คือ Ability to learn and
adapt
2. Cohesion and identity ก็คือ Ability to build a community
and a persona for itself
3. Tolerance and its corollary, decentralization, ก็คือ
Ability to build constructive relationships with other
entities, within and out-side itself.
4. Conservative financing ก็คือ Ability to govern its own
growth and evolution effectively.
หนังสือได้ถูกแบ่งเป็น 4 ตอน ตามข้อค้นพบได้แก่
1) Learning:
คือบริษัทก็เหมือนกับสิ่งมีชีวิตที่ต้องเรียนรู้และปรับตัวอยู่ตลอดเวลา
เพื่อความอยู่รอด
โดยต้องมีการคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (Scenario)
2) Pernona (Identity):
ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือบริษัทที่จะอยู่ได้อย่างยั่งยืน
ต้องมีลักษณะร่วมที่เหมือนกัน องค์กรจะคนเข้ามาใหม่ ๆ
ตลอดเวลา องค์กรจะมีความทน (Tolerance)
ต่อคนที่เข้ามาพร้อมแนวคิดใหม่ ๆ
ในขณะเดียวกันก็มีรู้สึกเป็นเอกลักษณ์ว่า เราคือใคร
ใครคือคนที่ใช่ ใครคือคนที่ไม่ใช่ ใครบ้างที่มี Shared values
ใครที่ไม่ใช่ก็ไม่ต้อง shared values
คนที่ใช่ก็จะมีความสุขกับสิ่งที่องค์กรเป็น Shared values
เป็นเหมือนพลังยึด (Cohesion)
ที่ทำให้คนในองค์กรอยู่ด้วยกันได้
ถึงแม้คนจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน มีศักยภาพต่างกัน
แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของแรงยึดขององค์กร
3) Ecology:
Ecology หรือ นิเวศวิทยา คือ
ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว
รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นด้วย
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจะเกิดขึ้นเมื่อมีคุณลักษณะ 3 ประการ
1. Innovation คือสามารถสร้างทักษะใหม่ ๆ
ที่จะใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมด้วยหนทางใหม่ ๆ
2. Social Propagation (การถ่ายทอดทางสังคม)
การถ่ายทอดทักษะส่วนตัวสู่สังคม ทำให้ทุกคนเกิดทักษะใหม่
3. Mobility คือ แต่ละคนความสามารถในการเคลื่อนย้ายไปรอบ ๆ
และใช้ประโยชน์จากมัน
เป็นการเคลื่อนย้ายเป็นฝูงไม่ใช้แยกไปสร้างอาณาจักรใหม่คนเดียว
ในบทนี้จะเน้นคำว่า Tolerant หรือความทน โดยรูปแบบของ
Tolerance ได้แก่
1. Low Tolerance หากคุณต้องการดอกกุหลาบที่ใหญ่กว่าคนอื่น
คุณต้องตัดกิ่งให้เหลือน้อยที่สุด
เพื่อให้แต่ละกิ่งสามารถผลิตดอกกุหลาบที่ใหญ่ (Core business)
แต่หากอากาศมีการเปลี่ยนแปลงคุณอาจได้ดอกกุหลาบน้อยมาก
ดังนั้นการตัดกิ่งเยอะๆ (hard Pruning)
จะเป็นอันตรายถ้าไม่สามารถทำนายสภาพแวดล้อมได้
2. High Tolerance แต่หากเราต้องการได้ดอกกุหลาบตลอดปี
เราก็ไม่ต้องตัดกิ่งออกมาก ถึงแม้จะไม่ได้ดอกกุหลาบใหญ่
แต่ก็ได้ดอกกุหลาบไม่ว่าสภาพแวดล้อมจะเป็นอย่างไร
การตัดแต่งแบบทน (Tolerant pruning policy)
จะบรรลุวัตถุประสงค์ 2 ข้อ
ข้อ 1. ทำให้ง่ายต่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดหมาย
ข้อ 2. นำไปสู่การค่อย ๆ
และต่อเนื่องของการปรับโครงสร้างของต้นไม้
Tolerance เป็นการยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคล
ทำให้องค์กรอยู่ได้อย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ดี บริษัทที่ Intolerance ก็สามารถมีอายุยืนได้
ถ้าสภาพแวดล้อมไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก
เหมือนปลูกมันฝรั่งสายพันธ์เดียวในสวนแก้วที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ
ความชื้น และแสงสว่างได้ ทำให้มีประสิทธิภาพสูง
(บริษัทพวกนี้มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากมีรูปแบบเดียว)
แต่ถ้าสภาพแวดล้อมไม่สามารถควบคุมได้ เช่น
ออกมาปลูกมันฝรั่งข้างนอกก็จะประสบปัญหา
นอกจากนั้นบริษัทที่จะอยู่ได้อย่างยั่งยืนต้องมีระบบภูมิคุ้มกัน
(The Corporate Immune System)
หมายถึงการที่เรารับคนที่มีความแตกต่างเข้ามาในบริษัท
ถ้าคนที่แตกต่างเข้ามาไม่มาก บริษัทก็สามารถปรับตัวได้
(มีภูมิคุ้มกันจากคนที่อยู่เดิม)
แต่หากคนที่แตกต่างเข้ามามากเกินไป
บริษัทก็ไม่สามารถปรับตัวได้ เสมือนภูมิคุ้มกันไม่พอ
ทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้บริษัทมีปัญหา
4) Evolution:
บริษัทที่จะวิวัฒนาการหรือพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง
จำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรด้านเงินทุน
ดังนั้นบริษัทเหล่านี้จำเป็นต้องมีวินัยทางการเงิน
โดยมีความเป็นอนุรักษ์นิยมทางการเงิน (Conservatism in
Financing) โดยบริษัทต้องให้ความสำคัญกับการมีเงินอยู่ในมือ
เนื่องจากการมีเงินอยู่ในมือทำให้บริษัทสามารถยืดหยุ่นและมีอิสระในการทำงานซึ่งคุ่แข่งอาจไม่มี
ดังนั้นการพยายามให้บริษัทมีเงินทุนอยู่ตลอดเวลา
(ไม่ลงทุนมากเกินไปถึงแม้จะมีโอกาส)
จะช่วยให้บริษัทสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง |
|
My Opinion |
ถึงแม้หนังสือเล่มนี้จะมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกับหนังสือ
Built to last
แต่รูปแบบการนำเสนอมีความแตกต่างกันพอสมควร ในหนังสือ Built to
last จะยกตัวอย่างการกระทำหรือพฤติกรรมของบริษัทอย่างชัดเจน
แต่ในหนังสือ The Living Company
มีการนำเสนอในเชิงหลักการและแนวคิด ทำให้ได้อรรถรสไปคนละแบบ
อย่างไรก็ตามผมก็ประทับใจในเนื้อหาของหนังสือ The Living
Company มากพอสมควร ผมให้คะแนนหนังสือเล่มนี้ 4 ดาวครับ |
|