 |
Title: Blown to Bits |
Author: Philip Evans
and Thomas S. Wurster |
My Rating:
 |
|
|
|
Summary |
หนังสือเล่มนี้มาจากบทความของ Evans และ Wurster ที่ชื่อ
"Strategy and the New Economics of Information"
ซึ่งเป็นบทความที่ได้รับรางวัลจาก "Harvard Business Review"
ก็ตามธรรมเนียมล่ะครับ
เวลาบทความประสบความสำเร็จก็มักตามมาด้วยการขยายความ
เพิ่มตัวอย่าง และออกมาเป็นหนังสือ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำได้ดี
เนื่องจากมีแนวคิดพื้นฐานที่น่าสนใจอยู่แล้ว |
|
Blown to Bits
เนื้อหาว่าด้วยเรื่องการเกิดขึ้นของการสื่อสารรูปแบบใหม่ ๆ
ที่ทำให้เกมการแข่งขันในธุรกิจเปลี่ยนไป แนวของหนังสือก็คล้าย
ๆ กับหนังสือ Innovation Dilemma ของ Clayton M. Christensen
ที่ว่าด้วยมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นมา
และบริษัทที่เป็นเจ้าของตลาดไม่ได้ให้ความสำคัญ
แต่เมื่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้เกมการแข่งขันเปลี่ยนไป
ก็ยากที่บริษัทที่เป็นเจ้าตลาดจะปรับตัวทัน หนังสือ Blown to
Bits ก็มีแนวคล้าย ๆ กัน
ตัวอย่างที่ถูกนำเสนอในหนังสือเล่มนี้บ่อยครั้งคือเรื่องของ
Encyclopaedia Britannica
ที่เป็นสารนุกรมในรูปแบบหนังสือที่เป็นเจ้าตลาด แต่เมื่อมี
CD-Rom เกิดขึ้น ก็จะมีสารานุกรมในรูปแบบ CD เกิดขึ้น เช่น
Encarta, Grolier, Compton เป็นต้น ซึ่ง Britannica
ก็มองสารานุกรมในรูปแบบ CD ว่าเป็นเหมือนของเด็กเล่น
สุดท้ายเมื่อเกมทางธุรกิจเปลี่ยน Britannica
ก็ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน
และลงเอยด้วยการถูกบังคับให้ขายธุรกิจไปในราคาน้อยกว่าครึ่งของราคาตลาด
(Book value)
ผู้เขียนไปสรุปบทเรียนไว้ 4 ประการ ได้แก่
1.
บริษัทที่มีชื่อเสียงหรือเป็นเจ้าตลาดก็อ่อนแอได้เหมือนกัน
เนื่องจากการเกิดขึ้นของ Information Technology ใหม่ ๆ
ที่เกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อไหร่ก็ได้
สิ่งเหล่านี้สามารถทำลายหรือล้มล้างบริษัทที่ประสบความสำเร็จมาเป็นเวลายาวนานได้
2. ความประสบความสำเร็จอย่างยาวนานของบริษัท
ทำให้ผู้นำตาบอด หรือถูกบดบังจากเหตุการณ์ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นที่ไม่ตรงกับความเชื่อของบริษัท
3. เกมที่เปลี่ยนไป อาจทำให้มีการกินตัวเอง
(Cannibalizing) สินทรัพย์ของบริษัท หรืออาจทำลายสินทรัพย์เดิม
มันจึงยากที่ทำให้บริษัทเกิดการเปลียนแปลง
4. This is not a zero-sum game
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ใช่ว่าคนนึงได้คนนึงเสีย
แต่คนนึงเสียก็ไม่ได้แปลว่าอีกคนนึงจะได้
เนื่องจากเกมที่มันเปลี่ยนไป |
|
สิ่งที่หนังสือเล่มนี้เน้นมากที่สุดคือเรื่องของ Richness and
Reach คำว่า Rechness หมายถึงคุณภาพของข้อมูล ส่วน Reach
คือการที่ผู้บริโภคได้รับข้อมูล โดยปกติถ้าข้อมูลเยอะ ๆ ดี ๆ
ก็จะไม่สามารถส่งไปถึงผู้บริโภคจำนวนมาก ๆ ได้
ในทางตรงกันข้ามถ้าจะส่งไปถึงผู้บริโภคมาก ๆ ข้อมูลต้องไม่เยอะ
หรือมีคุณภาพไม่มาก ดังนั้นมันเลยต้องเลือก (Trade-off)
แต่แนวทางของผู้เขียนระบุว่า
การเปลี่ยนแปลในปัจจุบันมันไม่ต้อง Trade-off
แต่ละต้องทำให้หลุดออกจากการ Trade-off นั้น |
 |
|
นอกเหนือจากการ Trade-off ระหว่าง Richness และ Reach
ที่เป็นแกนหลักสำคัญของหนังสือเล่มนี้แล้ว
ผู้เขียนได้นำเสนอการ Transform องค์กร เพื่อให้เกิด New
Business Model เช่น การ Deconstruction
หรือการจัดการเกี่ยวกับตัวกลาง (Disintermediation) รวมถึงการ
Affiliation ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับหนังสือ Innovation Dilemma
ของ Clayton M. Christensen
ผู้อ่านก็จะได้แนวคิดที่กว้างขึ้นในเรื่องเดียวกัน |
|
My Opinion |
เนื่องจากหนังสือเล่มนี้มาจากบทความที่ได้รับรางวัลจาก
Harvard Business Review
ก็เลยลำบากใจในการให้คะแนนเหมือนกัน
ในความคิดของผมผู้เขียนได้นำเสนอแนวคิดที่ธุรกิจต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
ซึ่งเป็นเนื้อหาที่น่าสนใจ
แต่ผมไม่ค่อยชอบวิธีการนำเสนอที่เน้นเรื่อง Richness and Reach
มากจนเกินไป ทำให้บดบังเนื้อหาส่วนอื่น ๆ เช่น Deconstructing
ผมเลยให้คะแนนหนังสือเล่มนี้ 3 ดาวครับ |