 |
Title: The Guide to
AUN-QA Assessment at Programme Level Version 4.0 |
Author: ASEAN
University Network |
My Rating:
 |
|
|
|
อาจารย์ที่ทำงานในมหาวิทยาลัยคงทราบกันดีว่าระบบประเมินคุณภาพของหลักสูตมาถึงการยุคเปลี่ยนผ่านจากการประกันคุณภาพภายใน
(Internal Quality Assurance: IQA) เป็นใช้แนวคิด OBE
(Outcome-Based Education) หรือการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์
โดยนำแนวทางของเครือข่ายมหาวิทยาลัยในอาเซียนมา (ASEAN
University Network; AUN) เป็นเป็นแนวทางการประเมินคุณภาพ
เรียกสั้น ๆ ว่า AUN-QA (ASEAN University Network-Quality
Assurance) ซึ่งปัจจุบันได้มีการปรับปรุงมาถึง version 4.0
ผมเองได้รับเชิญไปวิพากษ์หลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท
และปริญญาเอก จึงจำเป็นต้องหาความรู้ในเรื่องนี้
เลยต้องหาต้นฉบับมานั่งอ่านเพื่อให้เข้าใจแนวคิดและหลักการ
รวมถึงวิธีการประเมิน
เลยอยากมาสรุปเพื่อให้อาจารย์ได้ฟังเป็นแนวทาง โดย The Guide
to AUN-QA Assessment at Programme Level Version 4.0
ได้แบ่งเป็น 5 Parts คือ
1) Introduction to AUN-QA Assessment Models. This section gives an
overview of the AUN-QA assessment models.
2) AUN-QA Assessment at Programme Level. This section describes the
AUN-QA model and its criteria for assessment at the
programme level.
3) Quality Assessment. This section provides a step-by-step guide for
conducting an AUN-QA assessment at the programme level.
4) References. This section lists the references.
5) Appendices.
ซึ่งผมคงจะสรุปให้ฟังเฉพาะ Part 1-3 นะครับ
|
|
Part 1: Introduction to
AUN-QA Assessment Models |
AUN-QA มีการพัฒนาครั้งแรกในปี 1989 โดยได้จัดทำแนวทาง AUN-QA
เป็น Version แรกสำเร็จในปี 2001 จากนั้นจึงมีการพัฒนามาจนเป็น
Version ปัจจุบัน คือ Version 4.0 ในปี 2020 แนวคิดของ AUN-QA
ก็คือการออกแบบหลักสูตรโดยใช้ผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นตัวตั้ง
(Learning Outcomes)
ว่าหลักสูตรต้องการให้ผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องมีผลลัพธ์
เช่น ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ อย่างไร
จากนั้นจึงออกแบบรายวิชาเพื่อสร้างให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ |
|
 |
|
โดยมีเริ่มต้นจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
(stakeholders) ทั้งจากภายนอกและภายใน
เพื่อนำมาสรุปเป็นผลลัพธ์ที่คาดหวัง (Expected Learning
Outcomes: ELOs) หรือพูดง่าย ๆ คือ
เรียนจบแล้วคาดหวังว่าผู้เรียนจะได้อะไร เช่น ความรู้ ทักษะ
ทัศนคติ เรียกว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program
Learning Outcomes: PLOs)
จากนั้นจึงนำไปออกแบบรายวิชาและกำหนดผลลัพธ์รายวิชา (Course
Learning Outcomes: CLOs)
เพื่อสร้างให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ผลลัพธ์ระดับหลักสูตร |
|
 |
|
The AUN-QA version 2.0
จะประกบอไปด้วยเกณฑ์ 25 หมวด ใน Version 3.0 ลดเหลือ 11
หมวด และ Version 4.0 ทำให้กระชับเหลือเพียง 8 หมวด คือ 1.
Expected Learning Outcomes 2. Programme Structure and
Content 3. Teaching and Learning Approach 4. Student
Assessment 5. Academic Staff 6. Student Support Services 7.
Facilities and Infrastructure และ 8. Output and Outcomes
โดยสามารถจัดเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
ทรัพยากรณ์ และผลลัพธ์ ตามตารางด้านล่าง |
|
 |
|
|
|
|
Part 2: AUN-QA Assessment
at Programme Level |
ในส่วนที่ 2 จะอธิบายเกฑณ์ทั้ง 8
หมวด โดยมีเนื้อหา หลักเกณฑ์ (Requirements) คำอธิบาย
(Explanation) แนวทางการตั้งคำถามเพื่อประเมิน (Diagnostic
Questions) เอกสารหรือหลักฐาน (Sources of Evidence) ดังนี้ |
AUN-QA Criterion 1 –
Expected Learning Outcomes |
Requirements
1.1 หลักสูตรแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์การเรียนที่รู้ที่คาดหวัง
(ELOs: Expected learning outcomes)
ที่ถูกสร้างขึ้นอย่างเหมาะสมตามหมวดหมู่ (Taxonomy)
ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย
และเป็นที่รั
บรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
1.2 หลักสูตรแสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์การเรียนรู้สำหรับทุกรายวิชา
(CLOs: Course Learning Outcomes)
ถูกสร้างขึ้นอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับ PLOs
1.3
หลักสูตรแสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ประกอบด้วยผลลัพธ์ทั่วไป
(Generic outcomes) เช่น การเขียน การสื่อสาร การแก้ปัญหา
การใช้ IT การทำงานเป็นทีม และผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา
(Subject specific outcomes) เช่น ความรู้และทักษะของวิชานั้น
1.4 หลักสูตรแสดงให้เห็นว่าความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอก
ถูกรวบรวมและสะท้อนไปยังผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง
1.5
หลักสูตรแสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์การเรียนรู้บรรลุโดยผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา
Criterion 1: Explanation
- ผลลัพธ์การเรียนรู้ก็คือ knowledge, skills, and attitudes
ที่ผู้เรียนต้องเก่ง (master)
-
ผลลัพธ์การเรียนรู้ต้องเริ่มจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ต้องเป็นมุมของผู้เรียนมากกว่าเป็นมุมของสถานศึกษา
ต้องสังเกตและวัดได้
- Programme learning outcomes (PLOs)
จะบรรลุได้ตามระยะเวลาที่ผู้เรียนได้เรียนในหลักสูตร
ความก้าวหน้าของ PLOs จะต้องวัดจากผู้เรียนว่า
มีความก้าวหน้าเท่าไหร่ ถึง 100% แล้วหรือยัง
(หากหลักสูตรเป็นคนวัด จะลำเอียง) บาง PLOs
อาจวัดหลังสำเร็จการศึกษาแล้วไปทำงานแล้ว
ซึ่งอาจเป็นข้อมูลมาจากผู้ใช้บัณฑิตหรือศิษย์เก่า |
|
 |
|
Diagnostic Questions
1. อะไรคือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร (วัตถุประสงค์)
2. อะไรคือผลลัพธ์การเรียนรู้ (ELO: Expected Learning
Outcomes)
3. ELOs/PLOs สร้างมาได้อย่างไร
4. ELOs/PLOs สอดคล้องกับมหาวิทยาลัย คณะ หรือไม่ อย่างไร
5. ตลาดแรงงานมีความคาดหวังในประเด็นเฉพาะ (specific
requirements) ต่อผู้สำเร็จการศึกษาหรือไม่ อย่างไร
6. หลักสูตรตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานหรือไม่ อย่างไร
7. มีการระบุรายละเอียดของ Job Profiles หรือไม่
(งานนี้ต้องการคนอย่างไร)
8. ผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบถึง ELOs/PLOs
หรือไม่อย่างไร
9. ELOs/PLOs วัดได้หรือไม่ อย่างไร
10. ELOs/PLOs มีการวัดความก้าวหน้าอย่างไร
และรู้ได้อย่างไรว่าบรรลุแล้ว
11. มีการทบทวน ELOs/PLOs เป็นระยะ ๆ หรือไม่
12. มีการแปลง ELOs/PLOs อยู่ในรูปที่เป็นรูปธรรม เช่น
knowledge, skills, and attitude หรือไม่ อย่างไร
Sources of Evidence
- Programme and course specifications
- Course brochure, prospectus, bulletin
- Skills matrix
- Stakeholder input
- University and faculty websites
- Curriculum review minutes and documents
- Accreditation and benchmarking reports. |
|
AUN-QA Criterion 2 –
Programme Structure and Content |
Requirements
2.1 คุณลักษณะ (Specification) ของหลักสูตรและรายวิชาทั้งหมด
ต้องถูกแสดงในแบบเข้าใจได้ ชัดเจน ปรับปรุงให้ทันสมัย
มีให้เข้าถึงได้
และสามารถสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
2.2 การออกแบบโครงสร้างรายวิชาในหลักสูตร (curriculum)
ต้องเป็นโครงสร้างที่สอดคล้องไปกับการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้
2.3 การออกแบบโครงสร้างรายวิชาในหลักสูตร (curriculum)
ต้องนำข้อมูลสะท้อนกลับ (feedback) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอก
(ไม่ได้บอกว่าเป็นความต้องการ แต่เป็น feedback
อาจจำเป็นต้องขอความเห็นอีกครั้ง)
2.4 แต่ละรายวิชาที่ช่วย (contribution)
ให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ต้องถูกแสดงอย่างชัดเจน
2.5 โครงสร้างรายวิชาในหลักสูตร (curriculum)
ต้องแสดงให้เห็นทุกรายวิชาอย่างเป็นโครงสร้างตามตรรกะ
(logically structured) โดยมีลำดับที่เหมาะสม และบูรณาการ
2.6 โครงสร้างรายวิชาในหลักสูตร (curriculum)
ต้องมีทางเลือกให้กับผู้เรียนเพื่อจะมุ่งไปสู่ความสนใจเฉพาะด้าน
(major and/or minor specializations)
2.7 หลักสูตรต้องแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างรายวิชาในหลักสูตร
(curriculum)
มีการทบทวนอย่างมีรูปกระบวนการและเพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับอุตสาหกรรม
Criterion 2: Explanation
- The programme specifications ต้องมีองค์ประกอบคือ
- วัตถุประสงค์ของหลักสูตรและผลลัพธ์การเรียนรู้
- โครงสร้างหลักสูตรและรายวิชา
- matrix แสดงให้เห็นว่า PLOs
จะบรรลุได้อย่างไรผ่านการเรียนในหลักสูตรนี้
- มีคำอธิบายในแต่รายวิชา (course specifications)
ข้อมูลของ programme specifications ประกอบด้วย
- ชื่อสถาบันการศึกษา
- รายละเอียดการรับรองจากองค์กรวิชาชีพหรือหน่วยงานตามกฎหมาย
- ชื่อปริญญา
- ชื่อหลักสูตร
- ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร
- คุณสมบัติของผู้สมัคร
- รายงานการประเมินมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
จุดอ้างอิงภายนอกและภายในที่สามารถใช้ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ของโปรแกรม
()
- รายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร เช่น ระดับ รายวิชา หน่วยกิต
.....
- วันที่ของการเขียน programme specifications
ข้อมูลของ courses specifications ประกอบด้วย
- ชื่อวิชา
- ความต้องการของรายวิชา (Course requirements) เช่น
ต้องเรียนวิชาอื่นมาก่อนมั้ย
- ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (knowledge, skills, and
attitude)
- รูปแบบและวิธี การสอน การเรียน การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้
- รายละเอียดรายวิชา (Course description, outline, or
syllabus)
- รายละเอียดของการประเมินผู้เรียน
- วันที่ของการเขียน courses specifications
Diagnostic Questions
(Programme Information)
-
ผลลัพธ์การเรียนรู้ได้ถูกถ่ายทอดไปยังหลักสูตรและรายวิชาหรือไม่
- Programme and course specifications มีข้อมูลอะไรบ้าง
- มีรูปแบบมาตรฐานของการเขียน courses specifications หรือไม่
อย่างไร
- Programme specifications สามารถเข้าถึงได้หรือไม่ อย่างไร
- มีกระบวนการทบทวน programme and courses specifications
อย่างไร
- เนื้อหาของหลักสูตรสะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้หรือไม่
- การวางรายวิชามีลำดับที่เหมาะสมและเชื่อมโยงหรือไม่
- มีความสมดุลระหว่าง specific and the general courses
หรือไม่
- รายละเอียดต่าง ๆ มีการทบทวนให้ทันสมัยหรือไม่
- โครงสร้างหลักสูตรเป็นอย่างไร
- มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักสูตรหรือไม่ อย่างไร
และเพราะอะไร
- หลักสูตรสนับสนุนความหลากหลายของผู้เรียนหรือไม่
- มีความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเป็นผลระหว่างรายวิชาพื้นฐาน
(basic courses) วิชาระดับกลาง (intermediate courses)
และวิชาเฉพาะ (specialised courses) หรือไม่ อย่างไร
- ระยะเวลาการเรียนแบ่งเป็นช่วงอย่างไร
และมีลำดับที่เหมาะสมหรือไม่
- การออกแบบหลักสูตรและรายวิชาเทียบ (benchmarks)
กับมาตรฐานหรืออ้างอิงอะไร
- วิธีการสอน การเรียน และการประเมินที่เลือกใช้
สอดคล้องกับลักษณะของผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างไร
Diagnostic Questions
(Curriculum Design and Evaluation)
- ใครเป็นผู้รับผิดชอบออกแบบรายวิชาในหลักสูตร (curriculum)
- อาจารย์ท่านอื่นและนักศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบหรือไม่
-
อะไรคือบทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการออกแบบและทบทวนรายวิชาในหลักสูตร
- curriculum มีความเป็นนวัตกรรมอย่างไร ใครเป็นคนริเริ่ม
บนพื้นฐานของสัญญาณอะไร
- ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการนำ curriculum ไปปฏิบัติ
(implementation)
- การออกแบบ curriculum อ้างอิงกับสถาบันอื่นหรือไม่ อย่างไร
- หลักสูตรนี้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายนานาชาติใดบ้าง
- มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับสถาบันต่างประเทศหรือไม่ ที่ไหน
อย่างไร
- หลักสูตรนี้ได้รับการยอมรับในต่างประเทศหรือไม่
มีขั้นตอนการประกันคุณภาพที่เป็นระบบอยู่หรือไม่
-
ใครมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอก
- มีคณะกรรมการ curriculum หรือไม่ และมีบทบาทอย่างไร
- มีคณะกรรมการ curriculum จากภายนอกหรือไม่ และมีบทบาทอย่างไร
- มีการประเมินหลักสูตรและรายวิชาอย่างไร
- การประเมินเป็นระบบหรือไม่
- มีการใช้งานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนอย่างไร
-
นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินโครงสร้างหลักสูตรและรายวิชาอย่างไร
- ผลการประเมินแจ้งให้ใครทราบบ้าง และแจ้งอย่างไร
-
อะไรคือปฏิบัติเพื่อพัฒนาโครงสร้างรายวิชาและกระบวนการออกแบบรายวิชา
Sources of Evidence
- Programme and courses specifications
- Course brochure, prospectus, bulletin
- Skills matrix
- Stakeholder input and feedback
- University and faculty websites
- Curriculum review minutes and documents
- Accreditation and benchmarking reports
- Curriculum map
- Curriculum review minutes and documents
- Accreditation and benchmarking reports. |
|
AUN-QA Criterion 3 – Teaching and Learning Approach |
Requirements
3.1
ปรัชญาของการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าได้ถูกอธิบายอย่างชัดเจนและสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด
และแสดงเห็นว่าได้ถูกสะท้อนไปยังกิจกรรมการเรียนการสอน
3.2
กิจกรรมการเรียนการสอนแสดงให้เห็นว่าให้นักศึกษามีส่วนร่วมอย่างมีความรับผิดชอบในกระบวนการเรียนรู้
3.3 กิจกรรมการเรียนการสอนแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์กับ
active learning โดยนักศึกษา
3.4 กิจกรรมการเรียนการสอนแสดงให้เห็นว่าสนับสนุนการเรียน
การเรียนรู้ว่าต้องเรียนอย่างไร
และปลูกฝังเพื่อให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (e.g., commitment
to critical inquiry, information-processing skills, and a
willingness to experiment with new ideas and practices).
3.5
กิจกรรมการสอนและการเรียนรู้แสดงให้เห็นว่าส่งเสริมให้นักเรียนได้รับแนวคิดใหม่ๆ
ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และทัศนคติของผู้ประกอบการ
3.6
กระบวนการเรียนการสอนต้องมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมและสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการ
Criterion 3: Explanation
- Educational philosophy
ต้องถูกนำไปใช้ในทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มออกแบบหลักสูตรไปจนถึงกิจกรรมการเรียนการสอน
- คุณภาพการเรียน
1. ผู้เรียนต้องสร้างและความเข้าใจความหมาย
(รู้และเข้าใจว่าเรียนไปเพื่ออะไร) ไม่ใช่ให้ผู้สอนบอก
2. ผู้เรียนต้องรู้วิธีการเรียน
3. การเรียนต้องอยู่ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย มีการสนับสนุน
และมีการร่วมมือกัน
ดังนั้นผู้สอนต้องสร้างบรรยากาศการในการเรียน
และสร้างทางเลือกในการเรียน
การเรียนที่มีคุณภาพ
- ผู้เรียนต้องพร้อมเรียน (ทั้งความรู้ ความคิด และอารมณ์)
- ผู้เรียนมีเหตุผลในการเรียน
- ผู้เรียนต้องมีความรู้เดิมที่สอดคล้องกับความรู้ใหม่
- ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการ
- บรรยากาศต้องมีการสนับสนุนที่ดี
Diagnostic Questions
(Teaching)
- ผู้สอนได้รับรู้เกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาหรือไม่ อย่างไร
- การส่งเสริมความหลากหลายในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
รวมถึงการแลกเปลี่ยนนักเรียนหรือไม่?
- มีความพอใจในการสอนโดยหลักสูตรอื่น เช่น วิชาทั่วไป
-
การสอนของอาจารย์สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ต้องการหรือไม่
- กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นอย่างไร
- มีการใช้เทคโนโลยีในกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไร
- กิจกรรมการเรียนการสอนถูกประเมินอย่างไร เหมาะสมหรือไม่
และมีความหลากหลายหรือไม่
- กิจกรรมการเรียนการสอนส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
และแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการหรือไม่
Diagnostic Questions
(Research)
- ผู้เรียนเข้าสู่กระบวนการทำวิจัยครั้งแรกเมื่อไหร่
- ระเบียบวิธีวิจัยถูกสอนหรือแนะนำกับผู้เรียนอย่างไร
- วิจัยมีความสัมพันธ์กับหลักสูตรอย่างไร
- ผลการวิจัยนำไปประยุกต์กับหลักสูตรอย่างไร
- นักศึกษาและผู้สอนมีความร่วมมือกับอุตสาหกรรมอย่างไร
Diagnostic Questions
(Practical Training)
- การอบรมเชิงปฏิบัติเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรหรือไม่
- การอบรมเชิงปฏิบัติมีกี่หน่วยกิต
-
การอบรมเชิงปฏิบัติหรือการให้บริการชุมชนอยู่ในระดับที่พอใจหรือไม่
- ชุมชนได้ประโยชน์อะไรจากบริการที่ดำเนินการโดยหลักสูตร
- สถานฝึกงานและนักศึกษาได้ประโยชน์อะไรจากการอบรมเชิงปฏิบัติ
-
นักศึกษาได้รับการแนะนำเพื่อให้สามารถอบรมเชิงปฏิบัติได้ดีอย่างไร
- มีการประเมินการอบรมเชิงปฏิบัติอย่างไร
Sources of Evidence
- Educational philosophy
- Evidence of action learning such as project, practical
training, assignment,
industrial attachment, etc
- Student feedback
- Online learning portal
- Programme and courses specifications
- Internship reports
- Community involvement
- Memorandum of Understanding (MOU). |
|
AUN-QA Criterion 4 – Student Assessment |
Requirements
4.1
ใช้เครื่องมือการประเมินที่หลากหลายอย่างมีระบบเพื่อวัดความสัมพันธ์ของการบรรลุ
ELO กับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน
4.2 นโยบายการประเมินและการอุทธรณ์การประเมิน
(assessment-appeal)
ต้องประกาศและสื่อสารกับนักศึกษาและถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างคงเส้นคงวา
4.3
มาตรฐานและแนวทางการประเมินสำหรับวัดความก้าวหน้าและการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาถูกแสดงอย่างชัดเจน
สื่อสาร และประยุกต์ใช้อย่างคงเส้นคงวา
4.4 วิธีการประเมินต้องประกอบด้วย rubrics และ marking schemes
ระยะเวลาและกฎระเบียบ ซึ่งต้องแสดงให้เห็นว่ามี ความถูกต้อง
(validity) เชื่อถือได้ (reliability) และเป็นธรรม (fairness)
4.5 การประเมินต้องแสดงให้เห็นว่าเป็นการวัดการบรรลุ ELO
ของหลักสูตรและของรายวิชา
4.6 ข้อมูลสะท้อนกลับ (feedback)
จากการประเมินนักศึกษาต้องส่งให้นักศึกษาในช่วงเวลาที่เหมาะสม
(ประเมินแล้วต้องแจ้งนักศึกษาว่านักศึกษามีจุดที่ควรพัฒนาอะไรบ้าง)
4.7
การประเมินนักศึกษาและกระบวนการต้องแสดงให้เห็นว่ามีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ
และมีการปรับปรุงเพื่อให้มั่นใจว่าสอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมและสอดคล้องกับ
ELO
Criterion 4: Explanation
การประเมินนักศึกษาคือการวัด ELO (ทุกระดับ)
เพื่อให้มั่นใจว่านักศึกษาได้รับ ELO
ในระดับหลักสูตรและรายวิชาตามที่กำหนด
และเพื่อเป็นเกณฑ์ในการสำเร็จการศึกษา
ที่สำคัญคือต้องถูกนำไปใช้เพื่อเป็นข้อมูลในกับนักศึกษาในการพัฒนาตนเอง
Diagnostic Questions
- มีการประเมินนักศึกษาใหม่หรือไม่
- มีการประเมินตอนจบการศึกษาหรือไม่
- Content validity: การประเมินครอบคลุม PLOs และ CLOs หรือไม่
- Construct validity:
การประเมินครอบคลุมวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและรายวิชาหรือไม่
- การประเมินมีเกณฑ์อ้างอิงหรือไม่ (criterion-referenced) คือ
เกณฑ์การให้คะแนน
- การประเมินมีวิธีการที่หลากหลายหรือไม่ อะไรบ้าง
- ประเมินผ่าน-ไม่ผ่าน มีเกณฑ์ชัดเจน
- มีระเบียบ (regulations) ของการประเมินที่ชัดเจน
- มีมาตรการคุ้มครองเพื่อให้แน่ใจว่ามีความเป็นกลางหรือไม่?
- ผู้เรียนพอใจกระบวนการประเมินหรือไม่
- ผู้เรียนเคยร้องเรียนอะไรบ้างเกี่ยวกับการประเมิน
- มีกฎที่ชัดเจนสำหรับการประเมินใหม่หรือไม่
และนักเรียนพึงพอใจกับกฎเหล่านี้หรือไม่?
กรณีที่มี Final Project
เช่น วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์
- มีระเบียบที่ชัดเจนหรือไม่ในการประเมิน Final Project
เพื่อจบการศึกษา
- มีหลักเกณฑ์อย่างไร และมีการพัฒนาหลักเกณฑ์มาได้อย่างไร
- อะไรบ้างที่ต้องเตรียม (content, methods, and skills)
เพื่อการทำ Final Project
- ระดับของ Final Project เป็นที่น่าพอใจหรือไม่
- มีอะไรที่เป็นคอขวดในการทำ Final Project หรือไม่ ถ้ามี ทำไม
- มีที่ปรึกษาหรือไม่อย่างไร
Sources of Evidence
- Sample of in-course assessment, project work, thesis,
final examination, etc
- Assessment/Marking rubrics
- Moderation process
- Appeal procedure
- Programme and courses specifications
- Examination regulations. |
|
AUN-QA
Criterion 5 – Academic Staff |
Requirements
5.1
หลักสูตรต้องแสดงให้เห็นถึงการวางแผนด้านบุคลากรทางการศึกษา
(การสืบทอด, การโปรโมท, การปรับเปลี่ยนโยกย้าย, การเลิกจ้าง
การเกษียรณอายุ)
5.2
หลักสูตรต้องแสดงให้เห็นว่าชั่วโมงการทำงานของบุคลากรถูกวัดและติดตาม
เพื่อให้มีการพัฒนาคุณภาพด้านการศึกษา วิจัย และบริการ
(บริการวิชาการ บริการชุมชน ....)
5.3
หลักสูตรต้องแสดงให้เห็นว่าสมรรถนะของบุคลากรทางการศึกษามีการระบุไว้ชัดเจน
มีการประเมิน และมีการสื่อสาร
5.4
หลักสูตรต้องแสดงให้เห็นว่าการกระจายหน้าที่ไปยังบุคลากรทางการศึกษามีความเหมาะสมกับคุณสมบัติ
ประสบการณ์ และความถนัด (aptitude)
5.5
หลักสูตรต้องแสดงให้เห็นว่าการโปรโมทบุคลกรทางการศึกษาอยู่บนพื้นฐานของระบบที่เป็นธรรมสำหรับการสอน
การวิจัย และการบริการ
5.6 หลักสูตรต้องแสดงให้เห็นว่าสิทธิ์ สิทธิพิเศษ, สวัสดิการ,
บทบาทและความสัมพันธ์,
รวมถึงความรับผิดชอบของบุคลากรทางการศึกษา
ได้ถูกกำหนดและเข้าใจอย่างชัดเจน
โดยคำนึงถึงจริยธรรมวิชาชีพและเสรีภาพทางวิชาการของพวกเขา
5.7
หลักสูตรต้องแสดงให้เห็นว่าความต้องการการฝึกอบรมและการพัฒนาของบุคลากรทางการศึกษามีการระบุและมีความเหมาะสมกับกิจกรรมการอบรมและการพัฒนา
ได้ถูกนำไปประยุกต์เพื่อตอบสนองความต้องการที่ระบุ
5.8 หลักสูตรต้องแสดงให้เห็นว่าการบริหารจัดการผลลัพธ์การทำงาน
เช่น รางวัล การได้รับการยกย่อง
ถูกนำไปใช้เพื่อประเมินการสอนและคุณภาพการวิจัยของบุคลากรทางการศึกษา
Criterion 5: Explanation
บุคลากรทางการศึกษาต้องมีความสามารถ
- ออกแบบการเรียนการสอนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้
- มีวิธีการเรียนการสอนที่หลากหลาย
และสามารถเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดเพื่อให้บรรลุ ELOs
- พัฒนาสื่อการสอน
- ติดตามและประเมินการสอนและผลลัพธ์ของการเรียนในรายวิชา
- สะท้อนถึงแนวทางการสอนของตนเอง
- ทำวิจัยและบริการเพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Full-Time Equivalent
มหาวิทยาต้องมีการกำหนดการคำนวณ Full-Time Equivalent
Diagnostic Questions (Academic Staff)
- คุณสมบัติของบุคลากรเหมาะสมกับงาน
- มีความสามารถและความเชี่ยวชาญเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามหลักสูตร
- อะไรคือประเด็นที่ท้าทายด้าน HRM
และมหาวิทยาลัยมีการจัดการอย่างไร
- จำนวนของอาจารย์ที่จบปริญญาเอก
- มีนโยบายอะไรที่ช่วยส่งเสริมในการจ้างบุคคลากร
- มีการอบรมหรือพัฒนาบุคลากรใหม่หรือไม่ อย่างไร
- มีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการสัมมนา การดูแล ของการทำบทความ
การฝึกปฏิบัติ หรือการไปฝึกภายนอก (internship)
- บุคลากรมีความพึงพอใจในจำนวนชั่วโมงการสอนที่กำหนดหรือไม่
- จำนวนบุคลากรต่อนักศึกษาเหมาะสมหรือไม่
- อะไรคือความรับผิดชอบต่องานในด้านบทบาท ความรับผิดชอบ
ความอิสระทางการศึกษา และจริยธรรมอาชีพ
- บุคลากรมีการทำวิจัยด้านใดบ้าง
และสอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัยหรือคณะหรือไม่
- มีการให้ทุนหรือไม่อย่างไร และจัดสรรอย่างไร
Diagnostic Questions
(Staff Management)
- มีการวางแผนอัตรากำหลังอย่างไร
- มีการจัดโครงสร้างอย่างไร
- มีเกณฑ์ในการรับเข้าหรือโปรโมตหรือไม่ อย่างไร
- มีระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานหรือไม่ อย่างไร
- มีการวางแผนการสืบทอดในตำแหน่งสำคัญอย่างไร
- มีการวางแผนเส้นทางอาชีพหรือไม่ อย่างไร
- บุคลากรพอใจต่อนโยบายด้าน HR หรือไม่
- มีแผนพัฒนานโยบาย HR ในอนาคตอย่างไร
- มีการเตรียมการสำหรับบุคลากรในงานสอนอย่างไร
- การสอนมีการดูและและประเมินหรือไม่ อย่างไร
Diagnostic Questions
(Training and Development)
- ใครเป็นผู้รับผิดชอบด้านการอบรมและพัฒนาบุคลากร
- อะไรคือกระบวนการและการวางแผนด้านการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
- ความต้องการด้านการฝึกอบรมมาได้อย่างไร
- การอบรมและพัฒนาสะท้อนถึงบริบทของมหาวิทยาลัยหรือไม่
- มีระบบพัฒนาสมรรถนะเชิงกลยุทธ์และเทคนิคให้กับบุคลากรหรือไม่
อย่างไร
- ชั่วโมงการฝึกอบรมกำหนดอย่างไร
- มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการอบรมอย่างไร
Sources of Evidence
- Manpower plan
- Faculty distribution in terms of age, gender, expertise,
etc
- Career and succession plans
- Recruitment criteria
- Staff qualifications
- Training needs analysis
- Training and development plan and budget
- Peer review and appraisal system
- Student feedback
- Award and recognition schemes
- Staff workload
- Organisation chart
- HR policies
- Staff handbook
- Job description
- Employment contract
- Research and publication data
- National and/or professional licence/certificate. |
|
AUN-QA
Criterion 6 – Student Support Services |
Requirements
6.1 นโยบายการรับนักศึกษา เกณฑ์การรับเข้า
และขั้นตอนการรับเข้าศึกษาในหลักสูตร
แสดงให้เห็นว่ามีการกำหนดอย่างชัดเจน สื่อสาร เผยแพร่
และมีความทันสมัย
6.2
มีการวางแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวสำหรับบริการสนับสนุนทางวิชาการและไม่ใช่ทางวิชาการ
เพื่อให้มั่นใจว่ามีความเพียงพอและคุณภาพในการสนับสนุนการสอน
การวิจัย และการบริการชุมชน
6.3
มีการแสดงว่ามีระบบที่เพียงพอสำหรับการติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษา
ผลการเรียน และภาระงาน โดยมีการบันทึกและติดตามความก้าวหน้า
ผลการเรียน และภาระงานของนักศึกษาอย่างเป็นระบบ
พร้อมทั้งให้คำแนะนำและดำเนินการแก้ไขตามความจำเป็น
6.4 กิจกรรมนอกลักสูตรหรือกิจกรรมส่งเสริมหลักสูตร การแข่งขันนักศึกษา
และบริการสนับสนุนนักศึกษาอื่น ๆ
แสดงให้เห็นว่ามีอยู่เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การเรียนรู้และเพิ่มโอกาสในการหางาน
6.5
แสดงให้เห็นว่ามีการระบุคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการแก่นักศึกษาเพื่อการสรรหาและการปฏิบัติงาน
คุณสมบัติเหล่านี้ได้รับการประเมินเพื่อให้มั่นใจว่ามีความเหมาะสมกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่อง
บทบาทและความสัมพันธ์แสดงให้เห็นว่ามีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างราบรื่น
6.6 บริการสนับสนุนนักศึกษาได้รับการประเมิน
เปรียบเทียบมาตรฐาน และปรับปรุง
Criterion 6: Explanation
คณาจารย์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพหากไม่มีบริการที่มีคุณภาพจากเจ้าหน้าที่สนับสนุน
เจ้าหน้าที่เหล่านี้คือผู้ที่ดูแลห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ
สิ่งอำนวยความสะดวกด้านคอมพิวเตอร์ และบริการอื่น ๆ
สำหรับนักศึกษา
Diagnostic Questions
(Student Quality)
- การรับนักศึกษามีการติดตามและวิเคราะห์อย่างไร?
- นักศึกษาได้รับการคัดเลือกอย่างไร?
- นโยบายเกี่ยวกับการรับนักศึกษาเป็นอย่างไร?
มุ่งเน้นที่จะเพิ่มจำนวนนักศึกษาหรือรักษาจำนวนให้คงที่?
เพราะเหตุใด?
-
มีมาตรการอะไรบ้างที่นำมาใช้เพื่อส่งผลต่อคุณภาพและขนาดของการรับนักศึกษา?
- มาตรการเหล่านี้มีผลอย่างไร?
-
หลักสูตรมีการพิจารณาระดับความสำเร็จของนักศึกษาที่เข้ามาใหม่อย่างไร?
Diagnostic Questions
(Student Study Load and Performance)
- ภาควิชามีระบบหน่วยกิตหรือไม่?
- หน่วยกิตถูกคำนวณอย่างไร?
-
ภาระการเรียนถูกแบ่งอย่างเท่าเทียมกันทั้งในแต่ละปีการศึกษาและภายในปีการศึกษาหรือไม่?
-
นักศึกษาโดยเฉลี่ยสามารถสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่วางแผนไว้ได้หรือไม่?
-
มีตัวชี้วัดอะไรบ้างที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าและผลการเรียนของนักศึกษา?
Diagnostic Questions
(Student Support)
-
ภาควิชามีระบบติดตามบันทึกความก้าวหน้าในการเรียนและติดตามบัณฑิต
(เช่น การศึกษาภาคติดตาม) หรือไม่?
- ข้อมูลจากระบบติดตามถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร?
- คณาจารย์มีบทบาทอย่างไรในการให้ข้อมูล แนะนำ
และช่วยนักศึกษาในการรวมตัวเข้ากับหลักสูตร?
- นักศึกษาได้รับข้อมูลเกี่ยวกับแผนการเรียนของตนอย่างไร?
-
มีการให้ความสำคัญเป็นพิเศษในการให้คำแนะนำแก่นักศึกษาปีแรกและนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำหรือไม่?
ถ้ามี มีวิธีการอย่างไร?
-
มีการให้การสนับสนุนเฉพาะเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนให้แก่นักศึกษาที่มีปัญหาหรือไม่?
-
มีการให้ความสำคัญแยกต่างหากในการให้คำแนะนำนักศึกษาขั้นสูงหรือไม่?
- มีการช่วยเหลือในการทำโครงการปีสุดท้ายหรือไม่?
นักศึกษาที่มีปัญหาในการฝึกปฏิบัติหรือโครงการสุดท้ายจะขอความช่วยเหลือได้จากที่ไหน?
- มีการให้คำแนะนำแก่นักศึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางเลือกของวิชา
การเปลี่ยนวิชา การหยุดพัก หรือการลาออกจากการเรียนอย่างไร?
-
มีการให้ข้อมูลแก่นักศึกษาเกี่ยวกับโอกาสในการทำงานในอนาคตอย่างไร?
-
มีการตรวจสอบสาเหตุที่นักศึกษาใช้เวลานานกว่าที่คาดไว้ในการสำเร็จการศึกษาหรือไม่?
- นักศึกษาพึงพอใจกับบริการสนับสนุนที่ได้รับหรือไม่?
Diagnostic Questions
(Support Staff)
-
เจ้าหน้าที่สนับสนุนมีความสามารถและคุณสมบัติเหมาะสมกับงานของตนหรือไม่?
-
ความสามารถและความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่สนับสนุนมีเพียงพอหรือไม่?
-
มีความยากลำบากอะไรบ้างในการดึงดูดเจ้าหน้าที่สนับสนุนที่มีคุณสมบัติครบถ้วน?
- นโยบายเกี่ยวกับการจ้างงานเจ้าหน้าที่สนับสนุนเป็นอย่างไร?
- เจ้าหน้าที่สนับสนุนพึงพอใจกับบทบาทของตนหรือไม่?
- การวางแผนกำลังคนสำหรับเจ้าหน้าที่สนับสนุนดำเนินการอย่างไร?
-
มีการกำหนดเกณฑ์การสรรหาและการเลื่อนตำแหน่งสำหรับเจ้าหน้าที่สนับสนุนหรือไม่?
- มีระบบการจัดการประสิทธิภาพหรือไม่?
- มีแผนพัฒนาสายอาชีพสำหรับเจ้าหน้าที่สนับสนุนหรือไม่?
Sources of Evidence
- Student selection process and criteria
- Trend of student intake
- Credit system
- Student workload
- Student performance report
- Participation in academic and non-academic activities,
extracurricular activities,
competition, etc
- Mechanisms to report and feedback on student progress
- Provision of student support services at university- and
faculty-level
- Coaching, mentoring, and counselling schemes
- Student feedback and course evaluation. |
|
AUN-QA
Criterion 7 – Facilities and Infrastructure |
Requirements
7.1 ทรัพยากรทางกายภาพสำหรับการดำเนินการหลักสูตร
รวมถึงอุปกรณ์ วัสดุ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
แสดงให้เห็นว่ามีความเพียงพอ
7.2 ห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์แสดงให้เห็นว่ามีความทันสมัย
เข้าถึงได้ง่าย และถูกใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
7.3
ห้องสมุดดิจิทัลแสดงให้เห็นว่ามีการจัดตั้งตามความก้าวหน้าในเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
7.4
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแสดงให้เห็นว่ามีการจัดตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรและนักศึกษา
7.5
มหาวิทยาลัยแสดงให้เห็นว่ามีการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายที่เข้าถึงได้อย่างสูง
ซึ่งทำให้ชุมชนในมหาวิทยาลัยสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอน
การวิจัย บริการ และการบริหารจัดการได้อย่างเต็มที่
7.6 มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัย
และการเข้าถึงสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษแสดงให้เห็นว่ามีการกำหนดและนำไปปฏิบัติ
7.7
มหาวิทยาลัยแสดงให้เห็นว่ามีการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
สังคม และจิตใจที่เอื้อต่อการศึกษา การวิจัย
และความเป็นอยู่ส่วนบุคคล
7.8
ความสามารถของเจ้าหน้าที่สนับสนุนที่ให้บริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวกแสดงให้เห็นว่ามีการระบุและประเมินเพื่อให้มั่นใจว่าทักษะของพวกเขายังคงสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
7.9 คุณภาพของสิ่งอำนวยความสะดวก (ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ และบริการนักศึกษา)
แสดงให้เห็นว่ามีการประเมินและปรับปรุง
Criterion 7:
Explanation
การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
สิ่งอำนวยความสะดวกยังเชื่อมโยงกับวิธีการสอนและการเรียนรู้ด้วย
ตัวอย่างเช่น หากวิธีการสอนเน้นการทำงานเป็นกลุ่มย่อย
ก็ควรจัดเตรียมห้องเรียนที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่น
ทรัพยากรการเรียนรู้ เช่น คอมพิวเตอร์
พอร์ทัลการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ทรัพยากรห้องสมุด ฯลฯ
ควรได้รับการจัดเตรียมอย่างเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและบุคลากร
คุณภาพของหลักสูตรขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาเป็นส่วนใหญ่
อย่างไรก็ตาม
คณาจารย์ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพหากไม่มีบริการที่มีคุณภาพจากเจ้าหน้าที่สนับสนุน
เจ้าหน้าที่เหล่านี้คือผู้ที่ดูแลห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ
สิ่งอำนวยความสะดวกด้านคอมพิวเตอร์ และบริการนักศึกษาอื่น ๆ
Diagnostic Questions
- มีห้องบรรยาย ห้องสัมมนา ห้องปฏิบัติการ ห้องอ่านหนังสือ
และห้องคอมพิวเตอร์เพียงพอหรือไม่?
-
สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและบุคลากรหรือไม่?
- ห้องสมุดมีอุปกรณ์เพียงพอสำหรับการศึกษาและการวิจัยหรือไม่?
- ห้องสมุดเข้าถึงได้ง่ายและอยู่ในทำเลที่สะดวกหรือไม่
(ตำแหน่งที่ตั้งและเวลาเปิดทำการ)?
- มีสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องปฏิบัติการเพียงพอหรือไม่?
- ห้องปฏิบัติการตรงตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องหรือไม่?
-
มีสื่อการสอนและอุปกรณ์ที่เพียงพอสำหรับบุคลากรและนักศึกษาหรือไม่?
-
มีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ใดบ้างที่จัดเตรียมไว้เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการศึกษาและการวิจัย?
-
สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานส่งเสริมหรือขัดขวางการดำเนินหลักสูตรมากน้อยเพียงใด?
- งบประมาณทั้งหมดสำหรับสื่อการสอนและอุปกรณ์เพียงพอหรือไม่?
-
มีการบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานอย่างไร?
Sources of Evidence
- List of facilities, equipment, computer hardware and
software, etc
- Facility booking, utilisation rate, downtime/uptime,
operating hours
- Maintenance plan
- New facilities and upgrading plans
- Safety, health, and environmental policy
- Emergency plan
- Student and staff feedback
- Budget for facilities and infrastructure. |
|
AUN-QA
Criterion 8 – Output and Outcomes |
Requirements
8.1 อัตราการผ่าน อัตราการลาออก
และระยะเวลาเฉลี่ยในการสำเร็จการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีการกำหนด
ติดตาม และเปรียบเทียบมาตรฐานเพื่อการปรับปรุง
8.2 การมีงานทำ รวมถึงการประกอบอาชีพอิสระ การเป็นผู้ประกอบการ
และการก้าวไปศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
แสดงให้เห็นว่ามีการกำหนด ติดตาม
และเปรียบเทียบมาตรฐานเพื่อการปรับปรุง
8.3 ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
และกิจกรรมที่ดำเนินการโดยคณาจารย์และนักศึกษา
แสดงให้เห็นว่ามีการกำหนด ติดตาม
และเปรียบเทียบมาตรฐานเพื่อการปรับปรุง
8.4
มีการจัดหาข้อมูลเพื่อแสดงถึงความสำเร็จของผลลัพธ์ของหลักสูตรโดยตรง
ซึ่งผลลัพธ์เหล่านี้ได้รับการกำหนดและติดตาม
8.5 ระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ
แสดงให้เห็นว่ามีการกำหนด ติดตาม
และเปรียบเทียบมาตรฐานเพื่อการปรับปรุง
Criterion 8: Explanation
ในการประเมินการประกันคุณภาพของหลักสูตรวิชาการ
การวัดผลลัพธ์และผลสัมฤทธิ์เป็นสิ่งสำคัญ
ซึ่งรวมถึงการวัดระดับที่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังได้รับการบรรลุ
เช่น อัตราการผ่าน อัตราการลาออก
ระยะเวลาเฉลี่ยในการสำเร็จการศึกษา และอัตราการจ้างงาน
งานวิจัยเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งจากกระบวนการนี้
ประเภทของกิจกรรมวิจัยที่ดำเนินการโดยบุคลากรและนักศึกษาควรตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
นอกเหนือจากการวิเคราะห์ข้อมูลนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์แล้ว
มหาวิทยาลัยยังต้องวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วย
ควรมีระบบในการเก็บรวบรวมและวัดความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ข้อมูลที่เก็บรวบรวมควรได้รับการวิเคราะห์และเปรียบเทียบมาตรฐานเพื่อการปรับปรุง
Diagnostic Questions
(Pass Rate, Dropout Rate)
-
หลักสูตรมีระบบที่มีประสิทธิภาพในการติดตามอัตราการผ่านและอัตราการลาออกของนักศึกษาหรือไม่?
- หลักสูตรมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับอัตราการผ่าน?
หากไม่เป็นที่น่าพอใจ
มีมาตรการอะไรบ้างที่ถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงอัตราการผ่าน?
- อัตราการลาออกเป็นเท่าไร?
มีคำอธิบายสำหรับอัตราการลาออกหรือไม่?
- ภาควิชารู้หรือไม่ว่านักศึกษาที่ลาออกไปที่ไหน?
Diagnostic Questions
(Average Time to Graduate)
-
ภาควิชามีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับระยะเวลาเฉลี่ยในการสำเร็จการศึกษา?
-
มีมาตรการอะไรบ้างที่ถูกนำมาใช้เพื่อส่งเสริมการสำเร็จการศึกษาและลดระยะเวลาเฉลี่ยในการสำเร็จการศึกษา?
- มาตรการเหล่านี้มีผลกระทบอย่างไร?
Diagnostic Questions
(Quality of Graduates)
- คุณภาพของบัณฑิตเป็นที่น่าพอใจหรือไม่?
-
มาตรฐานที่ได้รับการบรรลุสอดคล้องกับมาตรฐานที่คาดหวังหรือไม่?
- บัณฑิตสามารถหางานได้ง่ายหรือไม่?
โอกาสในการทำงานของบัณฑิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีอะไรบ้าง?
Diagnostic Questions
(Employability of Graduates)
- ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาบัณฑิตกี่เปอร์เซ็นต์ที่หางานได้ภายใน 6
เดือนหลังจากสำเร็จการศึกษา?
- บัณฑิตกี่เปอร์เซ็นต์ที่หางานได้ภายใน 1
ปีหลังจากสำเร็จการศึกษา?
- มีบัณฑิตกี่เปอร์เซ็นต์ที่ยังว่างงานอยู่ภายใน 1
ปีหลังจากสำเร็จการศึกษา?
Diagnostic Questions
(Research)
- กิจกรรมวิจัยประเภทใดที่นักศึกษาเข้าร่วม?
กิจกรรมเหล่านี้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยและคณะหรือไม่?
- กิจกรรมวิจัยประเภทใดที่คณาจารย์ดำเนินการ?
กิจกรรมเหล่านี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยและคณะหรือไม่?
- ระดับของทุนวิจัยเป็นอย่างไรและนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร?
- จำนวนเอกสารวิจัยที่เผยแพร่มีเท่าไร?
เอกสารวิจัยถูกเผยแพร่ในวารสารระดับชาติ ระดับภูมิภาค
และ/หรือนานาชาติหรือไม่?
Diagnostic Questions
(Stakeholder Satisfaction)
-
มีกลไกใดบ้างที่ให้บุคลากรสามารถแสดงความพึงพอใจหรือไม่พอใจเกี่ยวกับหลักสูตร
ทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก กระบวนการ นโยบาย ฯลฯ?
-
มีตัวชี้วัดใดบ้างที่ใช้ในการวัดและติดตามระดับความพึงพอใจของบุคลากร?
-
มีมาตรการอะไรบ้างที่ดำเนินการเพื่อเพิ่มระดับความพึงพอใจของบุคลากร?
มาตรการเหล่านั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่?
- ภาควิชารู้หรือไม่ว่านักศึกษาเห็นอย่างไรเกี่ยวกับหลักสูตร
โปรแกรม การสอน การสอบ ฯลฯ?
-
ภาควิชาจัดการกับข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนจากนักศึกษาอย่างไร?
-
ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบัณฑิตเกี่ยวกับความสามารถที่พวกเขาได้รับเป็นอย่างไร?
-
ข้อเสนอแนะแบบมีการนำกลับมาใช้จากศิษย์เก่าเพื่อปรับปรุงหลักสูตรเป็นอย่างไร?
- นายจ้างพึงพอใจกับคุณภาพของบัณฑิตหรือไม่?
- มีข้อร้องเรียนเฉพาะเกี่ยวกับบัณฑิตหรือไม่?
- จุดแข็งเฉพาะของบัณฑิตได้รับการชื่นชมจากนายจ้างหรือไม่?
Sources of Evidence
- Process and indicators for measuring stakeholder
satisfaction
- Stakeholder satisfaction trend
- Graduates, alumni, and employer surveys
- Press reports
- Employment surveys
- Employment statistics
- Employer feedback. |
|
Part 3:
Quality Assessment |
ในส่วนที่ 3
จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพ
ในขั้นตอนแรกหลักสูตรต้องดำเนินการประเมินตนเอง (self-assessment)
และจัดทำรายงานประเมินตนเอง (Self-Assessment Report : SAR) |
|
 |
โดยมีตัวอย่างกระบวนการทำ SAR ดังตารางด้านล่าง |
|
 |
|
โดย SAR
จะประกอไปด้วยเนื้อหาดังนี้ |
ส่วนที่ 1:
บทนำ
- บทสรุปบริหารของรายงานการประเมินตนเอง (SAR)
- การจัดทำการประเมินตนเอง
(การดำเนินการประเมินตนเองเป็นอย่างไร และมีใครส่วนร่วมบ้าง)
- คำอธิบายโดยย่อของมหาวิทยาลัย คณะ และภาควิชา
(สรุปประวัติการประกันคุณภาพ พันธกิจ วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์
และนโยบายคุณภาพของมหาวิทยาลัย
ตามด้วยคำอธิบายโดยย่อของคณะและภาควิชา)
ส่วนที่ 2: เกณฑ์ AUN-QA
ส่วนนี้ประกอบด้วยการเขียนอธิบายว่ามหาวิทยาลัย คณะ
หรือภาควิชาดำเนินการอย่างไรในการตอบสนองต่อเกณฑ์ของ AUN-QA
โดยปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ในรายการตรวจสอบการประเมินตนเอง
ส่วนที่ 3: การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน
- สรุปจุดแข็ง -
สรุปประเด็นที่ภาควิชาพิจารณาว่าเป็นจุดแข็งและเน้นประเด็นที่สถาบันภาคภูมิใจ
- สรุปจุดอ่อน -
ระบุประเด็นที่ภาควิชาพิจารณาว่าเป็นจุดอ่อนและต้องการการปรับปรุง
- การประเมินตนเองที่สมบูรณ์ตามภาคผนวก A
- แผนการปรับปรุง
(ข้อเสนอแนะเพื่อปิดช่องว่างที่ระบุในการประเมินตนเองและแผนการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การดำเนินการนั้น)
ส่วนที่ 4: ภาคผนวก อภิธานศัพท์และเอกสารสนับสนุนและหลักฐาน |
ตัวอย่างภาคผนวก A คือ การให้คะแนนเองตามเกณฑ์แต่ละข้อ |
|
 |
|
เกณฑ์การให้คะแนน 1-7 มีดังนี้ |
 |
|
กระบวนการตรวจประเมินโดยผู้ประเมิน
เมื่อหลักสูตรประเมินตนเองแล้ว จะมีผู้ประเมินภายนอกมาประเมินการประเมินตนเองของหลักสูตรอีกครั้งหนึ่ง
โดยใช้กระบวน PDCA เช่นเดียวกัน คือ
Plan คือ การกำหนดตารางเวลาการตรวจ
Do คือ การเข้าตรวจ
Check คือ การทำรายงานและการนำเสนอผลการประเมิน
Act คือ การทำรายงานฉบับสมบูรณ์และการให้ข้อเสนอแนะ |
|
คำตัดสินโดยรวมสำหรับการประเมินหลักสูตรการศึกษาจะอิงจากการประเมินแบบ
องค์รวมมากกว่าการเฉลี่ยทางเลขคณิต
คำอธิบายสำหรับระดับคะแนนเจ็ดระดับสำหรับคำตัดสินโดยรวมจะถูกระบุไว้
โดยไม่ใช้การเฉลี่ยทางเลขคณิต ดังนั้น
คำตัดสินโดยรวมจะเป็นหนึ่งในด้านล่างนี้
o Absolutely Inadequate
o Inadequate and Improvement is Necessary
o Inadequate but Minor Improvement Will Make It Adequate
o Adequate as Expected
o Better Than Adequate
o Example of Best Practices
o Excellent (Example of World-class or Leading Practices)
คะแนนสำหรับแต่ละเกณฑ์ย่อยจะไม่ถูกนำเสนอในรายงานสุดท้าย
(ภาคผนวก D)
คะแนนสำหรับแต่ละเกณฑ์จะถูกจัดเตรียมไว้ที่หน้าสรุปของรายงาน
(ประเมินเป็นข้อย่อยก็จริง แต่เวลาสรุปคะแนนให้สรุปเป็น 1-7
ตามตัวอย่างด้านล่าง |
|
 |
|
My Opinion |
การออกแบบหลักสูตรตามแนวทาง OBE โดยอ้างอิงการประเมินคุณภาพของ
AUN-
QA
ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงในวงการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่ผู้บริหารหลักสูตรต้องศึกษาและเรียนรู้
ถึงแม้ประเทศไทยจะยึดตามแนวทาง AUN-QA
แต่ก็มีการปรับปรุงให้เหมาะสมของบริบทของระบบการศึกษาของไทย
คำแนะนำของผมคือ ผมอยากให้ศึกษา AUN-QA ก่อน
แล้วค่อยไปศึกษาหรืออบรม OBE ตามแบบของไทย
จะทำให้เข้าใจที่ไปที่มาได้ดีขึ้น
และทำให้ประยุกต์ได้อย่างมีหลักการครับ
|
|